บทที่ 3 ซอฟแวร์
- ซอฟต์แวร์
(อังกฤษ: software) หรือ
ส่วนชุดคำสั่ง หรือบางครั้งมีการสะกดว่า
ซอฟท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู.
เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี
พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน
ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์
กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์
(analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ
มี 2 ชนิดดังนี้
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (system software)
คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ
หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ
นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์
จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที
โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบ เช่น วินโดว์ 98 วินโดว์เอ็กซ์พี ยูนิกซ์ และ ลีนุกซ์ เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่นๆ
และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ตัวแปลภาษาต่างๆ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application
software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆ
ตามความต้องการของผู้ใช้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานสำหรับงานทางด้านต่างๆ ออกจำหน่ายเป็นจำนวนมาก
ทำให้การประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์จึงเป็นไปอย่างกว้างขวางและแพร่หลาย
เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ
ซอฟต์แวร์สำเร็จและซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ
ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
ฯลฯ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ
และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น
ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดระบบ เพื่อใช้ในการจัดระบบ
หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
1.1
ใช้ในการจัดหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ
ส่งรหัสตัวอักษรออกทาง
จอภาพหรือ เครื่องพิมพ์
ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า ละส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
1.2
ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก
หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูล จากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
1.3
ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น
การขอดูรายการสาระบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป
แบ่งออกเป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ตัวแปลภาษา และโปรแกรมยูทิลิตี้
ซอฟต์แวร์ทั้งสามประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
1. ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียนย่อ
ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาก และเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส (Disk
Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู
(OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
1.1 ดอส
เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบที่พัฒนามานานแล้วการใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดี
ในหมู่ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
1.2 วินโดวส์
เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น
สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ
การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถ
ใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฎบนจอภาพ
ทำใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
1.3 โอเอสทู
เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม
เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกันและการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
1.4 ยูนิกซ์
ป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั่งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถ
ใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งาน ในเวลาเดียวกัน
ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก
โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกัน เป็นระบบ เช่น
ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์วินโดว์เอ็นที
การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น งานพิมพ์เอกสาร
งานคำนวณ งานออกแบบ หรืองานทางด้านบัญชี และมีจำนวนผู้ใช้กี่คน
จำเป็นต้องใช้ข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ร่วมกันหรือไม่
ผู้ใช้แต่ละคนอยู่ที่เดียวกันหรืออยู่คนละแห่ง
ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะตัว
ประมวลผล ขนาดความจุของหน่วยความจำ
โปรแกรมประยุกต์ที่มีใช้อยู่เดิมใช้กับระบบปฏิบัติการชนิดไหน
ต้นทุนในการจัดหาระบบปฏิบัติว่ามีมากน้อยเท่าไร และความสามารถในการให้บริการหลังการขายของผู้จัดจำหน่าย
ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีผลต่อการตัดสินใจจัดหาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เหมาะสมกับองค์การและงบประมาณที่มี
2. ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง
เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็น
ภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา
ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย
เข้าใจ
ได้ง่ายตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษา
สำหรับแปลภาษา
ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบันเช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก
ภาษาซี และภาษาโลโก
2.1 ภาษาปาสคาล
เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้างเขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็น
กระบวนความ
ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2.2 ภาษาเบสิก
เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย
มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
2.3
ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสมใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ
ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้าง
คล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง
ๆ
2.4 ภาษาโลโก
เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโก
ได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว
ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน
ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี
3. โปรแกรมยูทิลิตี้ ( Utility Software)
เป็นโปรแกรมที่ให้บริการต่าง ๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล
ตามหลักใดหลักหนึ่ง
รวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน
หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับส่งอย่างหนึ่งไปยังอีก
อุปกรณ์หนึ่ง ประกอบด้วยโปรแกรมต่าง ๆ
ได้แก่ Editor, Debugging, Copy
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการ
ใช้งาน คล่องตัวขึ้น
จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ
ได้สะดวกการใช้งาน
คอมพิวเตอร์ ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น
หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
2.1 ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ ( Package ) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยม
ใช้กันสูงมาก
ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นแล้วนำออกมาจำหน่าย
เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง
ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก
ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ( word
processing software ) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ( spread sheet
software ) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ( data base management
software ) ซอฟต์แวร์นำเสนอ ( presentation software ) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ( data communication software )
2.1.1
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสารสามารถแก้ไข เพิ่ม
แทรก ลบ
และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี
เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้
การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ
เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม
ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
ที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2.1.2
ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์
ตารางทำงาน
ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา
ยางลบ
และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ
บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความ หรือสูตร สามารถสั่งให้
คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนดผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆ
ได้กว้างขวางซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้
เช่น เอกเซล โลตัส
2.1.3
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล
และจัดการกับข้อมูล
ที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์
จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย
ๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน
ไว้ในคอมพิวเตอร์
เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน
การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลทีนิยมใช้ เช่น เอกเซล
ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
2.1.4
ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูด
ความสนใจ
ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้าง
แผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้
ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก
2.1.5
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึง
ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์
ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์
ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้
เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่ง
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร
นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหา
มินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม
เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล
ที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์
เช่น โปรคอม ครอสทอล์คเทลิก
2.2
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป
แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงาน
ทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่น
ในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงาน
การขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน
การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงาน
แต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการ
ของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น
โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
ที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น
ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรมบริหารการเงิน
และการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก
ดังนั้นจึงยังมีความต้องการผู้พัฒนา
ซอฟต์แวร์
เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย
ข้อ 1 มีซอฟต์แวร์ทดลองใช้งานหรือไม่
ค่อนข้างถือเป็นอันดับแรกในการเลือกซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานกับธุรกิจของคุณ
เนื่องจากการได้ทดลองใช้งานถือเป็นทางเลือก ในการทดสอบและทดลองซอฟต์แวร์
์ว่าเหมาะกับธุรกิจหรือไม่ อีกประการคือถือเป็นการตรวจสอบซอฟต์แวร์
ของผู้ผลิตด้วยว่าใช้งานได้จริงตามที่โฆษณาไว้หรือไม่
ถ้าหากดีจริงก็ค่อยซื้อมาใช้งาน ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะซื้อโปรแกรมทันที
หลังจากที่ดูจากการสาธิตเพราะการสาธิตนั้นจะยกเอาเฉพาะข้อดีของโปรแกรมมาให้
และค่อนข้างเป็นการทำงานที่หลอกตาเนื่องจาก ยังไม่มีการป้อนข้อมูลจริงลงไป
บางบริษัทอาจบอกว่าไม่มีนโยบายเพราะกลัวลูกค้าใช้งานไม่เป็นก็ให้บอกปัดไปได้เลย
แหม
ถ้าเราเอามาลองใช้เองไม่เป็นแล้วจะเอามาให้ทำไม
อย่างน้อยที่สุดในแต่ละโปรแกรมจะต้องมีรายการช่วยเหลืออธิบาย
ถึงวิธีการใช้งานเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน ได้อย่างถูกต้อง
และถ้าหากซอฟต์แวร์ของบริษัทใดที่ไม่มีให้ทดลองใช้งาน ก็อาจต้อง
ระแวงไว้ก่อนว่า
ซอฟต์แวร์นั้นค่อนข้างมีปัญหาในบางจุดหรือที่เรียกว่า Bug นั่นเอง
ข้อ 2
พิจารณาถึงประวัติของบริษัทในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
สำหรับการพิจารณาในจุดนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการการันตีว่า
เมื่อเราซื้อสินค้าของบริษัทนี้แล้วจะได้รับการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มี
ความสามารถใหม่ ๆ
ทันยุคของโลกปัจจุบันเสมอ
เนื่องจากทุกวันนี้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก
ไม่ถึง 5 ปีก็จะต้องมีการอัพเดทซอฟต์แวร์
แต่หากขาดบริษัทที่มีความสามารถใน การพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว
เราก็จะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ตัวใหม่มาใช้งานอีก
ข้อ 3
พิจารณาถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานร่วม
โดยส่วนใหญ่เรามักทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น
Windows หากซอฟต์แวร์ตัวใดที่มีการทำงาน
บนระบบดอส
ซึ่งถือว่าล้าหลังมากก็ไม่ควรที่จะซื้อหามาใช้งานเพราะไม่รองรับกับเทคโนโลยีที่จะมีมาในอนาคตนั่นเอง
โดยเล่ห์เหลี่ยมของผู้ขายซอฟต์แวร์มักจะบอกว่าใช้ได้ทั้งดอส และ Windows แต่ปรากฏว่าเมื่อใช้งานจริงใช้ได้
้เฉพาะระบบดอสข้อนี้จึงควรระวังก่อนการเลือกใช้
ข้อ 4
พิจารณาถึงบริการหลังการขาย
การพิจารณาบริการหลังการขาย
ถือเป็นจุดสำคัญในการเลือกซอฟต์แวร์เป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากการทำงานบางอย่างของระบบ อาจเกิดข้อผิดพลาดเมื่อใช้งานนานวันเข้า
สำหรับการทดสอบในจุดนี้ก็ทำได้ไม่ยาก ก่อนอื่นควรที่จะดูบริการก่อนการซื้อก่อนว่า
มีการให้คำปรึกษา เป็นอย่างไร
โทรเข้าไปสอบถาม หรือเข้าไปที่บริษัทแล้วได้รับ การต้อนรับอย่างไร
โดยเฉพาะในช่วงของ
การทดลองใช้
โปรแกรมหากขอรับความรู้หรือขอทราบการแก้ไขปัญหาแล้วได้รับการ แก้ไขหรือตอบรับ
ที่ดีก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุด ที่ชี้วัดต่อการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทนั้น ๆ
ข้อ 5
คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย
โดยส่วนใหญ่ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาในปัจจุบันจะเขียนในลักษณะที่ค่อนข้างครอบคลุมหลายธุรกิจให้สามารถนำไปประยุกต์ให้
้เข้ากับการทำงานในแต่ละส่วน
แต่ละกิจการ เราจึงควรศึกษาถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ว่าในหน่วยงานมีการใช้งานหรือไม่
ส่วนใด
ที่สามารถปรับเปลี่ยน
แก้ไขได้หรือไม่ได้จะได้เป็น การลดส่วน
ที่ไม่จำเป็นออกไปและค่อนข้างประหยัดงบประมาณลงไปอีก
นอกจากนี้การพิจารณาเลือกหน้าจอของซอฟต์แวร์ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องพิจารณาร่วมด้วย
เนื่องจากหน้าจอที่มีสีสันฉูดฉาดบาดตา อาจดูสวยงามในช่วงแรก
แต่เมื่อมีการใช้งานนานไป ก็อาจทำให้เกิดความลำบากต่อการมองหรือทำงานได้
ที่มา https://sites.google.com
http://www.chakkham.ac.th
thank you |
ที่มา https://sites.google.com
http://www.chakkham.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น